ในเกมส์เอฟเอ คัพระหว่างอาร์เซน่อล กับลิเวอร์พูล เราได้เห็นรูปแบบการทุ่มบอลของอาร์เซน่อล ซึ่งไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนักกับทีมอื่น ในฤดูกาลนี้เราได้เห็นการทุ่มบอลรูปแบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนมันกลายเป็นเอกลักษณ์ของสโมสรไปแล้ว
แนวความคิดพื้นฐาน คือ ให้นักเตะวิ่งเคลื่อนที่ไปตามเส้นหลัง โดยเริ่มจากบริเวณใกล้กับมุมธง แล้วจากนั้นจะพลิกหนีเข้าไปยังกรอบเขตโทษ ขณะที่คนทุ่มก็จะพยายามทุ่มบอลไปยังเส้นกรอบเขตโทษ 18 หลา เราสามารถเรียกวิธีการนี้ได้ว่าคือ "Cutback Throw-in"
มีแนวความคิดหลักอยู่ 2-3 อย่าง ในการเล่นแบบนี้ หนึ่งคือคุณจะไม่ถูกจับล้ำหน้าจากการทุ่มบอล ซึ่งหมายความว่าคนรับบอลสามารถไปอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยทำให้แน่ใจว่าตัวประกบ จะไม่สามารถเห็นคนรับบอล และลูกบอลที่จะพุ่งเข้ามาได้ในเวลาเดียวกัน
อีกอย่างคือ คนรับบอลจะไปอยู่ใน Cutback Zone โดยมองเห็นภาพรวมของสนาม เพื่อที่จะส่งบอลอันตรายไปในเขตโทษ เพื่อให้ผู้เล่นอีกคนวิ่งเข้ามาทำประตู
โดยปกติแล้วผู้เล่นที่รับลูกทุ่ม ต้องการเวลา และพื้นที่ในการควบคุมบอล แต่นี่ไม่ใช่ปัญหาสำหรับอาร์เซน่อล คนเปิดบอลสามารถเปิดบอลในจังหวะแรกให้กับคนที่ใกล้ที่สุด เมื่อพิจารณาถึงวิธีการทุ่มบอลไปยัง Cutback Zone มันน่าแปลกใจเล้กน้อยว่าไม่มีใครพยายามทำบ่อยเท่ากับอาร์เซน่อล
ทุกรายการที่อาร์เซน่อลงสนามในฤดูกาล ลูกทีมของมิเกล อาร์เตต้า พยายม ที่จะทุ่มบอลเข้าพื้นที่ Cutback Zone คิดเป็น 17% จากการได้ทุ่มบอลแถวพื้นที่กรอบเขตโทษของคู่แข่ง มากกว่าสองเท่าของทีมอื่นในพรีเมียร์ลีก, ลาลีกา และแชมเปี้ยนชิพ
Thomas Gronnemark ผู้เชี่ยวชาญด้านการทุ่มบอล เคยทำงานกับเบรนท์ฟอร์ด และลิเวอร์พูล โดยเขาไม่เชื่อว่าการซ้อมป้องกันลูกทุ่มไม่เหมือนกับการป้องกันลูกเตะมุม หรือฟรีคิก ที่คุณสามารถซ้อม 2-3 รูปแบบเดิมเป็นกิจวัตร โดยกำหนดเป้าหมายไปที่ผู้เล่นคนเดิมในแต่ละครั้ง แต่การทุ่มบอลเหมือนการเล่นบาสเกตบอล ซึ่งทีมมี่มีลูกบอล จะมีเวลาในการหมุมเพื่อสร้าง และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ต่างๆ ได้
"ใช่ ความมหัศจรรย์สำหรับผม ในการทุ่มบอลแบบ Cutback อาจเป็นทางเลือกที่ดี แต่หากคุณกำลังมองหาเพียงแค่สิ่งนั้น มันง่ายมากที่จะตามประกบ"
อาร์เซน่อล มีวิธีการที่หลากหลายสำหรับการทุ่มบอลแบบ Cutback ในตัวอย่างแรกเกมส์กับลิเวอร์พูลในเอฟเอ คัพ บูคาโญ ซาก้า วิ่งไปที่กรอบเขตโทษ ขณะที่ไค ฮาแวร์ตซ์ เคลื่อนดึงคู่แข่งออกมาจากกรอบเขตโทษ มันช่วยสร้างและเปิดพื้นที่ให้กับ มาร์ติน โอเดการ์ด ตัวที่จะวิ่งไปรับบอลเข้าสู่กรอบเขตโทษ
30 วินาทีต่อมา พวกเขาทำมันอีกครั้ง จากตำแหน่งเดิม แต่ครั้งนี้ เป็นการใช้วิธีหมุนวน โดยมีซาก้าที่อยู่ใกล้กับมุมธง วิ่งวนกลับเข้ามาหาคนทุ่มบอล ขณะที่โอเดการ์ดก็พลิกตัววนไปยังพื้นที่ว่าง เพื่อเข้าไปยังจุดนัดพบ
ในช่วงท้ายเกมส์ อาร์เซน่อลทุ่มบอลอย่างรวดเร้ว เพื่อสร้างรูปแบบ Cutback ที่เรียบง่ายด้วยตัวคนเดียว ซึ่งแฟนอเมริกัน ฟุตบอล มักจะเรียกว่าเป็น Fade Route มาร์ติเนลลี่ โยนบอลกลับไปให้เพื่อน แล้วตัวเองก็ออกวิ่งไปยังจุดรับบอลตรง Cutback Zone ทันที
สิ่งที่ทั้งสามตวอย่างมีความเหมือนกัน คือการที่คู่แข่งจะขาดการป้องกันไปชั่วคราว เนื่องจากโครงสร้างการยืนโซนไม่ดี "กองหลังหนึ่งคนที่ยืนอยู่โดดเดี่ยว แล้วมีตัวประกอบที่อยู่ห่าง 12 หรือ 15 เมตร ตรงหน้าเขา และด้านหลังเขา มันแทบจะเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้เลยในการป้องกัน" Gronnemark กล่าว
เมื่อผู้เล่นพยายามป้องกันพื้นที่ขนาดนั้น จากสองทิศทาง การไม่มีจุดบอดเลยเป็นเรื่องที่ยากมาก "เราให้ความสำคัญกับการสแกนเป็นอย่างมาก เมื่อคุณเป็นคนออกบอลในฐานะผู้เล่นเกมส์รุก แต่การสแกนในเกมส์รับก็สำคัญไม่แพ้กัน"
เขาบอกอีกว่าการทุ่มบอลแบบ Cutback จะได้ผลดีที่สุดเมื่อการเคลื่อนที่ คือการทำให้กองหลังเสียสมาธิ และลืมตรวจสอบคนที่จะวิ่งไปรับบอลซึ่งอยู่ด้านหลังของตัวเอง
บางครั้งคุณอาจเห็นอาร์เซน่อล ใช้วิธีการที่หมิ่นเหม่กับการทำผิดกฏ ด้านการสกรีนผู้เล่นฝั่งตรงข้าม เพื่อสร้างพื้นที่ว่างให้กับคนวิ่งไปรับบอล อย่างในเกมส์ที่พบกับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่โอเดการ์ด ทำหน้าที่สกรีนกวาดิโอล ทำให้เฆซุสมีพื้นที่ว่างในการเข้าไปรับบอล
ด้วยวิธีการทุ่มบอลแบบ Cutback ตัวอย่างเมื่อไม่นานมานี่แล้วทำให้เกิดเป็นประตูคือ เกมส์ชนะลูตัน ทาวน์ 4-3 ประตูแรกของอาร์เซน่อล เริ่มจากเฆซุส ที่ทุ่มบอล Cutback ไปให้กับซาก้า ก่อนที่เขาจะจ่ายบอลเข้ากลางให้มาร์ติเนลลี่ยิงเข้าประตูไป หรือจังหวะได้จุดโทษในเกมส์ชนะล็องส์ 6-0 ก็มาจากวิธีการทุ่มบอลแบบนี้
มันเป็นวิธีการและรายละเอียดที่อาร์เซน่อล ดึงเข้ามาเพิ่มทางเลือกในการสร้างความได้เปรียบในการเล่นเกมส์รุก ไม่แปลกใจว่าทำไมพวกเขาถึงกลายเป็นทีมที่ถูกเรียกว่าเป็น "Dead-ball specialist"
Post By: